วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การจัดการศึกษาตลอดชีวิตในต่างประเทศ



การจัดการศึกษาตลอดชีวิตในต่างประเทศ
นางสาวทรงสุดา น้ำจันทร์
นางกรรณิการ์ เกตุบำเพ็ญ
นายกมลชัย อันทวาปี


ในปัจจุบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีจุดมุ่งหมายมากกว่า การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส
หรือให้โอกาสที่สองแก่ผู้ที่ไม่จบการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือเพื่อการฝึกอบรมแก่ ผู้ใหญ่นอกระบบโรงเรียน การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเป็นเป้าหมายสำหรับทุกคน ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของประเทศกลุ่มอุตสาหกรรม ในปี ค.ศ.
1996 ได้ระบุว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต ควรเป็นแนวทางของการมีส่วน ร่วมและสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ช่วยส่งเสริมระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดสมานฉันท์ในสังคม ประเทศต่างๆ ทั่วโลกพยายามพัฒนาศักยภาพของแรงงาน ด้วยการเพิ่มทักษะ ฝีมือ และสมรรถนะ เพื่อเพิ่มสัดส่วน การผลิตและผลผลิต แต่ละประเทศจำเป็นต้องหายุทธศาสตร์ สำหรับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมกับประเทศของตนที่ต้องแข่งขันในสังคมฐานความรู้ เพราะต้องก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหาความรู้เพื่อความอยู่รอด การเรียนรู้ที่สำคัญต่อการอยู่รอด อาจไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อได้สิ่ง ใหม่ หรือการเรียนรู้ตามกระแสนิยม แต่อาจจะเป็นการเรียนรู้ที่ นำประสบการณ์เดิมมาปรับปรุง แก้ไข พัฒนาให้ถูกต้อง สถาบันการศึกษาจึงมิใช่ มุ่งแต่จะผลิตบุคคลที่มีแต่ทักษะเฉพาะด้านแต่อย่างเดียว แต่ ต้องพัฒนาให้คนรู้จักการตัดสินใจ มีทักษะในการแก้ปัญหา และสอนให้คนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบบการศึกษาจึงต้องเน้นที่การศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้น สังคมอุดมปัญญาที่เทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ มนุษย์ ทำให้นักการศึกษาตลอดชีวิตต้องตระหนักถึงบทบาทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้
กรณีตัวอย่างของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต/ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศต่างๆ
     การจัดการศึกษาตลอดชีวิต/ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษานอกระบบหรือ
การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ มีความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งขอนำเสนอเพียงบางประเทศ
ในบางภูมิภาค โดยจะนำเสนอเพียงประเทศที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต/ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้โดดเด่น จนหลายหลายประเทศนำไปประยุกต์ใช้ให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ประเทศในทวีปเอเชีย
สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (Republic of Korea)
          ประเทศเกาหลีใต้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทุกคนทั้งที่มีงานทำ หรือยังว่างงาน เป็นการตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยมีระบบการเรียนรู้ที่ยึดหยุ่นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้โดยได้ออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้จากชีวิต ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หน่วยงานของท้องถิ่นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหลายรูปแบบเช่น
Lifelong Learning City มีระบบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยืดหยุ่นและมีสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ประชาชน
ญี่ปุ่น (Japan)
          ประเทศญี่ปุ่นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุสตรีผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยมีการออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หน่วยงานของท้องถิ่นรวมถึงทุกภาคส่วนของสังคมก็มีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหลายรูปแบบเช่น Community center สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางไกล ระบบ ELNET ที่ใช้ดาวเทียมเพื่อการศึกษาถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน
ประเทศในทวีปยุโรป
สหราชอาณาจักร (United Kingdom)
         
สหราชอาณาจักร ได้กำหนดหลักการ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตไว้อย่างชัดเจน โดยมุ่งจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส บุคคลต้องได้รับการศึกต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างเสมอภาค การเรียนรู้เกิดได้ทุกแห่ง ที่บ้าน ที่ทำงาน และในชุมชน รูปแบบของการเรียนรู้มีความหลายหลาย มีคุณภาพ มีความยืดหยุ่นและมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
สหรัฐอเมริกา (United States of America)
          ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือ ให้ความรู้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงผู้สูงอายุ โดยมีการออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางหน่วยงานของท้องถิ่น รวมทั้งชุมชนก็มีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบเช่น Community centers. Senior activity Centers, Lifelong learning institutes และ Development Centers สำหรับผู้ที่มีงานทำแล้วและยังว่างงานอยู่
แคนนาดา (Canada)
         
แคนนาดากำหนดนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายมุ่งให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ในทุกช่วงชีวิตตามความต้องการของแต่ละบุคคลในรูปแบบที่หลากหลายปลูกฝังนิสัยการรักการเรียนรู้ นำการเรียนรู้เข้าสู่วิถีชีวิตผสมกลมกลืนไปกับการดำเนินชีวิตเพื่อสร้าง “วัฒนธรรมการเรียนรู้” ให้แรงงานได้พัฒนาทักษะและความรู้ ความสามารถ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและวิชาการสมัยใหม่
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย
          ประเทศออสเตรเลียจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อแก้ปัญหาด้านการรู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน และตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของสังคม ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงสตรี ผู้ว่างงานการออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกางหน่วยงานของท้องถิ่นรวมทั้งทุกภาคส่วนของสังคมก็มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกันกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหลายรูปแบบเช่นการจัดหลักสูตรระยะสั้นการอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมายมีสถาบันฝึกอบรมอาชีพมีโปรแกรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับการทำงานในต่างประเทศ
บทสังเคราะห์: การเปรียบเทียบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในกลุ่มประเทศต่างๆ
บริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ล้วนเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้การดำเนินนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว
สหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองอีกทั้งยังอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง
ประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนนาดา เป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ และเป็นต้นแบบทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย การจัดการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
ประเทศออสเตรเลีย มีสังคมแบบพหุวัฒนธรรมทำให้คน
ในประเทศที่ต่างเชื้อชาติ
อยู่ด้วยกันได้อย่างราบรื่น
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งทำให้ทุกคนต้องแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
มีนโยบายพัฒนาประชาชนให้มีศักยภาพ ยกระดับทักษะแรงงานให้มีคุณภาพ
เพื่อนำพาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
- สาธารณรัฐเกาหลีใต้
มีพ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ขณะที่
- ญี่ปุ่น มีกฎหมาย
การเรียนรู้ตลอดชีวิตและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีนโยบายพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของบุคลากรให้ทันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเน้นการพัฒนาอาชีพการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตลอดชีวิต
ออกกฎมายกเว้นภาษีแก่บริษัทสถานประกอบการที่สนับสนุนเงินอุดหนุนในการจัดการศึกษาของผู้ใหญ่
กำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญของชาติ โดยออกกฎหมายการศึกษาตลอดชีวิตขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีกรอบทิศทาง
ในการปฏิบัติที่ชัดเจน
การจัดการศึกษายึดหลักการ
ในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสการศึกษาอย่าง
เท่าเทียมกันและถือว่าเป็นสิทธิ์ของทุกคนที่จะเข้าถึงโอกาส
ในการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการศึกษาชีวิตและกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาให้แก่แต่ละมลรัฐ
แต่ละเราสามารถกำหนดนโยบายการบริหาร
จัดการศึกษาตนเอง
โดยมุ่งเน้นแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตและการอาชีวะศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง


โครงสร้างการบริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
- สาธารณรัฐเกาหลีใต้และญี่ปุ่น มีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนตั้งแต่
ระดับระดับส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้
การจัดการศึกษาตลอดชีวิตของทั้งประเทศ
ประสบความสำเร็จ
สร้างโครงข่ายแห่งชาติ
เพื่อการศึกษา
มีการจัดระบบงบประมาณ
ให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและเพื่อช่วยสนับสนุนประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้
ในชุมชนและสร้างเครือข่าย
การเรียนรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือ
ให้ประชาชนได้เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ กลับบ้าน โรงเรียนสถาบันทางการศึกษา
สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม และชุมชน
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของ
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาประวัติชีวิต ทั้งรัฐบาล เอกชน องค์กรท้องถิ่นสมาคมสถานประกอบการและประชาชน ส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชน


หลักสูตรและกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
มีหลักสูตร/ กิจกรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกประเภทมีสถานที่/ สื่อ/ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนแสวงหาความรู้ได้โดยสะดวกตลอดเวลาทำให้เกิดวัฒนธรรม
การเรียนรู้ในสังคม
- จัดฝึกอบรมโดย
สถานประกอบการและสถาบันฝีมืออาชีพชั้นสูง
หรือสมาคมวิชาชีพ/ สหภาพแรงงาน สถาบันอุดมศึกษา
- หลักสูตรอิงในระบบโรงเรียน
- หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
- หลักสูตรวิทยาลัยชุมชน
- หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ประเภทวิชาสามัญ
- หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ประเภทขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาผู้ใหญ่ประเภทกิจกรรมสาธารณะ
- การศึกษาผู้ใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ
- การศึกษาผู้ใหญ่สำหรับ
ผู้พิการ
- การพัฒนาชุมชน
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- หลักสูตรอาชีวศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง
- หลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิต : จัดกลุ่มสนใจ




บทวิเคราะห์
          โครงสร้างและบทบาท จัดโครงสร้างองค์กรการบริหาร การเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกระดับ ตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ท้องถิ่น ในรูปของคณะกรรมการ โดยร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับหน่วยงานและส่วน ท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะสมรรถนะของฝีมือแรงงาน เพื่อให้ ประชาชนวัยแรงงานให้มีศักยภาพ สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนกลางเน้นการจัดทำยุทธศาสตร์ กำหนดนโยบาย มาตรฐานการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ตลอด ชีวิต วิธีการวัดผลประเมินผล และการทำวิจัยเพื่อแสวงหา นวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา/การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจน การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานของหน่วยงานการ ศึกษาตลอดชีวิตในระดับท้องถิ่น หน่วยงานระดับท้องถิ่น ดำเนินงานในรูปของศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือสถาน ศึกษาการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีบทบาทสำคัญในการจัด กิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของประชาชน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และชุมชน
          กลุ่มเป้าหมายและรูปแบบกิจกรรม หน่วยงานการ ศึกษาตลอดชีวิตจะดำเนินกิจกรรมตามความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายมากขึ้น ตั้งแต่ก่อนปฐมวัย เสริมความรู้แก่เด็กและ เยาวชนในระบบโรงเรียน ผู้ที่จบการศึกษาในสถานศึกษามา เข้าโปรแกรมการศึกษาต่อเนื่อง แม้แต่ผู้ที่ยังไม่รู้หนังสือ หรือ การศึกษาภาคบังคับ เยาวชน และผู้ใหญ่ในวัยแรงงาน ตลอดจน ผู้สูงอายุ ฉะนั้น การบริการการศึกษาตลอดชีวิตแก่กลุ่มเป้าหมาย หลากหลาย รูปแบบกิจกรรมจึงสนองความต้องการของกลุ่ม หมายประเภทต่างๆ เช่น กิจกรรมการฝึกอบรมประเภทต่างๆ เช่นอาชีพใหม่ๆ อาชีพเสริม ความรู้ใหม่ๆ เป็นต้น กิจกรรม ส่งเสริมทักษะชีวิต สุขภาพอนามัยทางร่างกายและทางจิต กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน และอนาคต
          นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการออกกฎหมาย จากการนำเสนอตัวอย่างการจัดการศึกษาตลอดชีวิต หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศต่างๆ ข้างต้น จะพบว่า ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สำเร็จ คือ การมี นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และพระราชบัญญัติ ซึ่งจะทำให้ หน่วยงานต่างๆ สามารถดำเนินงานได้คล่องตัว แม้บางประเทศ ไม่มีกฎหมายการศึกษาตลอดชีวิต แต่มีการออกกฎหมายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การออกกฎหมายก็เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สามารถสนองความต้องการการเรียนรู้ ของประชาชนนั่นเอง
          กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่เจริญแล้ว ให้ความสำคัญการจัดการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตออกกฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ การศึกษาตลอดชีวิต ตลอดจนการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ โดยการดำเนินการวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ถูกต้อง
ออกกฎหมายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเข้ามาเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน ทำให้การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาต่อเนื่อง เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ได้มาตรฐานถึงแม้บางประเทศไม่มีกฎหมายการศึกษาตลอดชีวิต แต่ก็มีการออกกฎหมายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น สิงคโปร์ กิจกรรมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะเป็นกิจกรรมเสริมความรู้แก่เด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียน ผู้ที่จบการศึกษาในสถานศึกษาเข้ามาโปรแกรมการศึกษาต่อเนื่อง แม้แต่ผู้ที่ยังไม่รู้หนังสือหรือการศึกษาภาคบังคับเยาวชนและผู้ใหญ่ในวัยแรงงานตลอดจนผู้สูงอายุ
          ประเทศไทยสามารถนำการศึกษาหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศต่างๆ มาดำเนินต่อแบบกำหนดวิสัยทัศน์การศึกษาของไทย โดยมีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจนที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตในการขับเคลื่อนนโยบาย เน้นการกระจายอำนาจ กำหนดโครงสร้างการบริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกระดับ อันมีสถาบันส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในการดำเนินงาน กำหนดแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติแบบรวม เพื่อส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตที่หลากหลาย
แก่กลุ่มเป้าหมายด้อยโอกาสทุกประเภท การสร้างระบบสนับสนุนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เช่น การใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตโดยสนับสนุนให้องค์กรกลางเป็นผู้ประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต ส่งเสริมสนับสนุนในการทำวิจัยเพื่อแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการศึกษาตลอดชีวิตมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการเข้าถึงประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงและหลากหลาย

บทสรุป
          ในยุคของโลกาภิวัฒน์ที่ระบบเศรษฐกิจและระบบข่าวสารข้อมูลไร้พรมแดน เข้ามามีบทบาท
ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้มีการแข่งขันในตลาดแรงงานสูง
รัฐบาลแต่ละประเทศจึงมุ่งเน้นนโยบายการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับความรู้ ทักษะอาชีพของประชาชนให้มีศักยภาพที่จะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา มุ่งสร้างวิสัยทัศน์ของประเทศตน เพื่อกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยเชื่อว่าการศึกษาจะเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการผลิต
          กรณีของประเทศที่คัดสรรมานี้อาจแตกต่างจากบริบทของประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นการจัดการศึกษาเพื่อชดเชยโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องทุ่มเทไปกับการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันและคนที่ไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ต้องพะวงกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ จะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วไม่เน้นค่านิยม ประกาศนียบัตรแต่สังคมไทยยังมีค่านิยมเรื่องนี้อยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของผู้เรียนและสังคม
          ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหลายประเทศข้างต้น ต่างมุ่งขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่หันมาให้ความสำคัญด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจศึกษา ด้านอาชีวศึกษา และการศึกษาต่อเนื่องหรือการศึกษาผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น ทุกประเทศได้กำหนดนโยบายการศึกษาหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต และหลายประเทศจะออกกฎหมายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและพระราชบัญญัติการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารมีหน่วยงานชัดเจนที่รับผิดชอบงานการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 เอกสารอ้างอิง

รุ้ง แก้วแดง. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพและแนวทางในการส่งเสริม
          การศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชนของสำนักงาน กศน
. เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคม
          อาเซียนของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558
. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
          และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2557). หนังสือรวบรวมบทความทางวิชาการ เรื่องการศึกษาตลอดชีวิต.
          กรุงเทพฯ
: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ 
          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยาหยี โกวิทยา. (2555). การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. สืบค้นจาก
          http://yayeekid.blogsport.com/2012/10/26301-1.html?m=1.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น