วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา


ภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาการศึกษา
นางสายสมร  จันทร์หอม
นางจาฏุพัทจ์  ศรีสุข
นางสมจิตต์  มีสัตย์ธรรม
นางสาวชลากร  เจริญนาม

ในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ โลกตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรมทำให้ภูมิปัญญาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทย รวมกันเป็นวัฒนธรรมไทยถูกละเลย ในขณะนี้รัฐบาลมีความพยายามจะนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ให้เป็นประโยชน์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการอนุรักษ์สืบสานความเป็นเอกลักษณ์ของไทยสืบทอดสู่ลูกหลานในปัจจุบัน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(๒๕๕๑)ได้ทบทวนบทเรียนของการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้ข้อสรุปว่าการพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมไทยเท่าที่ควรทำให้เกิดปัญหาและวิกฤตต่างๆ การพัฒนาคนหรือการศึกษาโดยรวมเป็นไปตามชาติตะวันตกดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาคนหรือการศึกษาได้รับการแก้ไข ให้สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมไทย การนำเอาภูมิปัญญาที่สั่งสมไว้ในบ้านเมืองมาใช้เป็นพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนหรือการจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องนำภูมิปัญญาไทยมาใช้ในการพัฒนาการศึกษาเพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาไทยกับการศึกษาตลอดชีวิต สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. ๒๕๕๑) มีนโยบายส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ซึ่งได้มีการกำหนดความหมายและลักษณะของภูมิปัญญาไทยไว้ ดังนี้
ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของคนไทยอันเกิดจาก การสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนาและถ่ายทอด สืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
                แบ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นออกเป็น ๔  กลุ่ม คือ
คติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการ
ศิลปะ วัฒนาธรรม และขนบธรรมเนียม
การประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้
แนวคิดหลักปฏิบัติและเทคโนโลยี
ลักษณะองค์รวมของภูมิปัญญามีความเด่นชัดในหลายด้าน ดังนี้
๑. ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิค ด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งคนสามารถ พึ่งพาตนเอง ในสภาวการณ์ต่าง ๆได้ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ ปัญหาการเกษตรด้าน การตลาดการแก้ปัญหาด้านการผลิตและการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับการเกษตร เป็นต้น
๒. ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลผลิตเพื่อการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่าย ผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุ่มหัตถกรรม เป็นต้น
๓. ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชนโดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่นยาจากสมุนไพร อันมีอยู่หลากหลาย การนวดแผนโบราณ การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เป็นต้น
๔. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสามารถ เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งการอนุรักษ์พัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยและยั่งยืน เช่น การบวชป่า การสืบชะตาแม่น้ำ การทำแนวปะการังเทียม การอนุรักษ์ป่าชายเลน การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน เป็นต้น
๕. ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ได้แก่ ความสามารถในด้านการสะสมและบริหารกองทุนและสวัสดิการ ชุมชน ความมั่นคงให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์รวมถึงความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน และการจัดระบบสวัสดิการบริการชุมชน
๖. ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมประติมากรรมนาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่นพื้นบ้านและนันทนาการ
๗. ด้านภาษาและวรรณกรรม ได้แก่ ความสามารถในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษา คือ ภาษาถิ่น ภาษาไทยในภูมิภาคต่างๆ รวมถึงด้านวรรณกรรมท้องถิ่นและการจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ
๘. ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ได้แก่ ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอน ทางศาสนาปรัชญาความเชื่อและประเพณีที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อบริบททางเศรษฐกิจสังคม เช่น การถ่ายทอดวรรณกรรมคำสอน การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว
            ๙. ด้านโภชนาการ ได้แก่ ความสามารถในการเลือกสรรประดิษฐ์และปรุงแต่งอาหารและยาได้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาวการณ์ต่างๆ ตลอดจนผลิตเป็นสินค้าและบริการส่งออกที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากรวมถึงการขยายคุณค่าเพิ่มของทรัพยากร
๑๐.ด้านองค์กรชุมชน ได้แก่ ร้านค้าชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดกลุ่มออมทรัพย์องค์กรด้านการตัดเย็บเสื้อผ้า
ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษาตลอดชีวิต
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กล่าวถึงการส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษาอยู่หลายมาตรา ได้แก่
มาตรา ๗ “ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขรู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิหน้าที่เสรีภาพความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยรู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติรวมทั้งส่งเสริมศาสนาศิลปะวัฒนะธรรมของชาติ การกีฬา
ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากลตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเองมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ”
มาตรา  ๒๓  “การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ”
มาตรา  ๒๗ “ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางของการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทยความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อความเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน  สังคม และประเทศชาติ
มาตรา  ๕๗  “ ให้หน่วยงานทางการศึกษาระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยนำประสบการณ์ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลดังกล่าวมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ”  
มาตราเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าภูมิปัญญาเป็นรากฐานและเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาคนและการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยสามารถกำหนดนโยบายและแนวทางการนำภูมิปัญญาเข้าสู่ระบบการศึกษาตลอดชีวิตทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย
 ๑. ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษาในระบบ
หน่วยงานภาครัฐกำหนดให้โรงเรียนมีหลักสูตร การเรียนการสอน ตำรา หนังสือประกอบ เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาของท้องถิ่น รวมถึงให้มีการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนเห็นความสำคัญและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย
๒. ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษานอกระบบ
หน่วยงานสถาบันหรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาไทยแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปและจัดให้มีหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยเพื่อปลูกฝังเจตคติที่ดีให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทย
๓. ภูมิปัญญาไทยกับการศึกษาตามอัธยาศัย
ชุมชนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้หรือศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยของผู้ทรงซึ่งองค์ความรู้ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินช่างฝีมือ ในท้องถิ่นรวมทั้งให้การสนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ใช้ในการประกอบกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้
การส่งเสริมภูมิปัญญาไทยเข้าสู่การจัดการศึกษาทุกประเภททุกรูปแบบนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนองค์กรท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชน องค์กรท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้มีความยั่งยืนและต่อเนื่อง
องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย
                ที่มา คุณค่า และการอนุรักษ์ ภูมิปัญญา หรือWisdom เป็นสิ่งที่ถูกสังคมไทยซ่อนเร้นมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่สังคมไทยได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดของตะวันตก และได้รับการกระตุ้นให้กลับคืนสู้สังคมไทยในบทบาทของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายมิติทางสังคม ภูมิปัญญาไทยหมายถึงองค์ความรู้ความสามารถ และทักษะของคนไทยที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณที่ผ่านกระบวนการเลือกสรร เรียนรู้ ปรุงแต่ง และถ่ายทอดสืบต่อกันมาเพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัยและจำแนกสาขาออกเป็น ๑๐สาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและหัตถกรรม การแพทย์แผนไทย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติกองทุนและธุรกิจชุมชน ศิลปกรรมภาษาและวรรณกรรม ปรัชญา ศาสนา และประเพณี โภชนาการองค์กรชุมชน
สังคมไทยจำแนกภูมิปัญญาได้ตามลำดับของแหล่งเกิดภูมิปัญญาได้ดังนี้
๑.ภูมิปัญญาใดเกิดจากตัวบุคคล และมีการยอมรับและนำไปใช้อย่างแพร่หลายในระดับท้องถิ่น      ก็สามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นภูมปัญญาท้องถิ่น
๒.ภูมิปัญญาใดที่เกิดจากวัดหรือชุมชนและเป็นที่แพร่หลายไปในต่างชุมชนจนเป็นที่ยอมรับใน     วงกว้าง เช่นการเกิดประเพณีต่างๆสามารถที่จะเรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของราษฎร
๓.ภูมิปัญญาใดที่มีจุดกำเนิดจากชนชั้นนำ และแพร่หลายไปจากส่วนกลางหรือศูนย์อำนาจในการปกครอง จนกลายเป็นที่ยอมรับจากชนชั้นถูกปกครอง อาทิ ศิลปะการร่ายรำ ศิลปะการร้อง สถาปัตยกรรมของศาสนาสถานหรือที่พักอาศัย ศิลปะการทำอาหาร ภูมิปัญญาลักษณะนี้เป็นภูมิปัญญาหลวง
พื้นฐานความเชื่อของการก่อกำเนิดภูมิปัญญาไทย
พื้นฐานความเชื่อที่เป็นรากฐานของภูมิปัญญาไทย ส่วนใหญ่จากความเชื่อเรื่อง “จักรวาล” ที่มีข้อความอธิบายไว้ในหนังสือ ไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพญาลอไท พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๕ แห่งอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ.๑๙๐๐-๑๙๑๙) และได้มีการนำแนวคิดดังกล่าวไปพัฒนาด้วยการผสมผสานกับแนวคิดเชิงพุทธเพื่อใช้กับศิลปกรรม หัตถกรรม และสถาปัตยกรรม ตลอดจนพิธีกรรมและประเพณีต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนชาวไทยในภูมิภาคนี้ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือสถาปัตยกรรมของวัดและพุทธสถานที่ปรากฏความเชื่อจากการผสมผสานระหว่างแนวคิดจักรวาลกับแนวคิดเชิงพุทธ ประเพณีการบวชนาคที่ปรากฏในพุทธศาสนาหรือแม้แต่การใช้ชีวิตของภูมิปัญญาไทยเกิดจากรูปแบบต่างๆของผลผลิตทางสังคมที่เป็นวัฒนธรรมของชาติและเป็นเครื่องใช้ในการพัฒนาคน พัฒนาสังคม และพัฒนาประเทศที่มีศักยภาพอย่างสูงสุดเพราะเป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนรากเหง้าของตนเองและเป็นการบูรณาการความคิดและภูมิปัญญาต่างชาติเข้ามาใช้ในสังคมอย่างกลมกลืนกันมากที่สุด เพื่อประโยชน์ของคนทั้งชาติด้วยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ผลิตซ้ำ และพัฒนา
แนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ: ความคิดรวบยอดของการศึกษา
จุดเริ่มต้นของการกำหนดแนวคิดในการพัฒนา๒ กระแสคือ
กระแสหลัก ได้แก่แนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีรากฐานมาจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
กระแสรอง ได้แก่ แนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีรากฐานมาจากระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
ทฤษฎีสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ
ทฤษฎีการพัฒนาประเทศไทยแบ่งออกเป็น  กระแสคือ กระแสหลักและกระแสรอง
ทฤษฎีกระแสหลักหลัก ประกอบด้วย
๑.ทฤษฎีของกลุ่มคลาสสิก นักทฤษฎีที่สำคัญๆ ได้แก่ อดัมสมิธ ริคาร์โด มัลธัส และมิลล์ เป็นต้น ซึ่งมีพื้นฐานของแนวคิดคือ
 - เชื่อในกฎธรรมชาติและความมีเหตุผลของมนุษย์
-  กลไกทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ และมีรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
  -  ผลผลิตและรายได้ของประเทศจะเกิดจากปัจจัยการผลิตประเภทที่ดินแรงงานและทุน
 -  ผลผลิตที่ได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีการกระจายปันไปสู่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
๒.ทฤษฎีของคาร์ล มารกซ์ จะแตกต่างจากทฤษฎีของกลุ่มคลาสสิกเป็นอันมากโดยมารกซ์มองว่า
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจะเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้น
                  การได้มาซึ่งความมั่งคั่งและอำนาจของคนกลุ่มหนึ่งและความพยายามที่จะมีชีวิตอยู่รอดของอีกฝ่ายหนึ่งจะนำมาซึ่งการต่อสู้ระหว่างชนชั้นของสังคมและทำให้สังคมพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
๓.ทฤษฎีของกลุ่มนีโอคลาสสิก พื้นฐานของแนวคิดคือความจำเริญทางเศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในอัตราที่สูงต่อไปเรื่อยๆ เพราะการปรับปรุงเทคโนโลยีและอัตราค่าตอบแทนต่างๆสูงกว่าที่เป็นจริง
๔.ทฤษฎีของชุมปีเตอร์ มีหลักการว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะเป็นเพียงส่วนนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
๕.ทฤษฎีของเคนส์  นำเสนอทฤษฎีเกี่ยวกับจ้างงาน ดอกเบี้ยและการเงิน แนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ทฤษฎีกระแสรอง ได้แก่ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อมกัน และเป็นทฤษฎีที่กรอบคิดค่อนไปทางตรงกันข้ามกับทฤษฎีกระแสหลักโดยมีทฤษฎีที่สำคัญดังนี้
ทฤษฎีใหม่เป็นปรัชญาการพัฒนาประเทศที่ได้รับการยอมรับในวงการนักวิชาการและนักพัฒนาชนบททั้งภาครัฐภาคเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนอย่างเข้มข้นและมีการนำมาใช้ในการพัฒนาชนบทอย่างแพร่หลายเป็นแนวคิดที่พัฒนาประเทศที่กำเนิดขึ้นมาเพื่อกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและวิกฤตสังคมของประเทศ
ทฤษฎีใหม่มีจุดกำเนิดมาจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันซึ่งมีรากฐานมาจากพระราชประสงค์ของพระองค์ในการสร้างความอยู่ดีกินดีของพสกนิกรในราชอาณาจักรของพระองค์
ภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาสังคมไทยผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผลการพัฒนาประเทศผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แนวคิดและลักษณะของแผนที่ได้รับอิทธิพลจากโลกทัศน์ของนักเศรษฐศาสตร์การพัฒนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในขณะนั้นว่าการพัฒนาคือการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นแผนที่กำหนดวัตถุประสงค์เดี่ยว (Single Objective) คือการเร่งรัดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจการกำหนดแผนจากส่วนกลางและหน่วยงานวางแผนส่วนกลาง(Top Down Planning) เน้นกลยุทธ์การวางแผนด้วยการลงทุนในโครงการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม
            แนวโน้นการพัฒนาชุมชนและสังคม ในอนาคตการวางแผนกลยุทธ์จะเป็นแกนหลักในการพัฒนาชุมชนและจะสำเร็จลงได้จะต้องอาศัยความเข้มแข็งของวัฒนธรรมในชุมชนที่มีอยู่อย่างหลากหลายให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยอาศัยการทำงานมีการกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ของการพัฒนาที่ชัดเจนและลงมือปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็งเต็มศักยภาพเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาให้กับองค์กร การทำงานต้องเป็นไปโดยอาศัยหลักการการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในรูปลักษณ์เครือค่ายการพัฒนามีการสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธาบนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและกระบานการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลไกโดยอาศัยกระบวนการวางแผนกลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน    
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน
การพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศโดยจะนำเสนอเป็น ๒  ส่วนได้แก่ ส่วนที่ ๑  แนวคิดในการแก้ไขปัญหา ส่วนที่ ๒การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศ
ส่วนแรก แนวคิดในการแก้ไขปัญหา
ความสำคัญของการพออยู่พอกินและมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกินที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเองได้นั้นประเทศต้องพึ่งพาพละกำลังของตนเองมากกว่าที่ยืมจมูกคนอื่นหายใจทำให้แนวคิดในการพัฒนาประเทศในอนาคตจึงเป็นแนวคิดของการพึ่งตนเองมากที่สุดการพึ่งพาตนเองเป็นไปเพื่อการตอบสนองการพัฒนาเกษตรกรและอุตสาหกรรมอย่างสมดุลกัน
            ลักษณะเด่นของการพึ่งพาตนเอง
๑.      สามารถกำหนดเป้าหมายและการตัดสินใจด้วยตนเองได้
๒.    ดำรงชีพได้ด้วยความสามารถของตนเอง
๓.     สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้มีความปรารถนาที่จะพึ่งพาตนเอง
ส่วนที่ ๒  การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้แนวคิดและแนวทาง
                การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นปรัชญาหลักของการพัฒนาประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐  กับการนำไปใช้โดยภูมิปัญญาชาวบ้านโดยขออัญเชิญแนวคิดพระราชทานมาประดิษฐานไว้เป็นปฐมดังนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
                ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสังคมของไทยบนพื้นฐานของการนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ร่วมกันรากฐานทางศาสนาที่ยังฝังลึกในสังคมไทย ให้เกิดประโยชน์ต่อคนไทยในยุคโลกาภิวัตน์ให้สามารถที่จะดำรงคุณลักษณะของคนไทยที่ว่า มีความเป็นสากลบนพื้นฐานของความเป็นไทย ที่จะได้ไม่ต้องวิ่งไล่ไขว่คว้าหาเงาของตนเหมือนคนไทยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในวิธีคิดและวิธีชีวิตของตนเองแล้ว เป็นที่เชื่อได้ว่าการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมจะส่งผลกระทบต่อความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ และสังคมของคนในชาติทั้งมวลด้วยเช่นกัน
ประวัติศาสตร์การศึกษาของประเทศไทย
ประวัติศาสตร์ทางการศึกษาของไทย โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๕ จนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นการนับช่วงเวลาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยอาศัยฐานคิดจากการศึกษาในดุษฎีนิพนธ์ของภานุวัฒน์  ภักดีวงศ์มาสรุปความดังนั้นคำบางคำที่นำมากล่าวอ้างจึงเป็นภาษาในสมัยนั้น
การศึกษาไทยนับแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕เป็นช่วงเริ่มต้นของการศึกษาสมัยใหม่ที่เป็นการนำภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับภูมิปัญญาทางการศึกษาของโลกตะวันออกและได้มีการพัฒนาตังเองอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันโดยสรุปถึงผลการศึกษาลักษณะการจัดการศึกษาในช่วงเวลาต่างๆที่จำแนกตามลักษณะของการปรากฏแนวคิดทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลาการให้บริการทางการศึกษาแก่ผู้เรียน ประชาชน ชุมชน และสังคมของหน่วยงานระดับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยจัดการศึกษาในสังกัด ล้วนแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของคนและศักยภาพของชาติในที่สุด  การพัฒนาการศึกษายังคงเป็นประเด็นของเงื่อนไขอันหนึ่งที่รัฐบาลกำหนดไว้ว่าประเทศไทยต้องพัฒนาทักษะและศักยภาพของแรงงานด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพการปรับลดอัตรากำลังดังกล่าวเป็นปัญหาหนักสำหรับกระบวนการจัดการเรียนการการสอนโดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลประกาศเป็นนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยการสร้างโอกาสทางการศึกษาการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและการสร้างประสิทธิภาพทางการบริหารการศึกษา
คุณภาพทางการศึกษาของผู้เรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพการเรียนการสอนของครูผู้สอนได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาข้าราชการพลเรือนในสังกัดและศึกษานิเทศก์ ดำเนินการการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาด้วยทิศทางการจัดการศึกษาของไทยในอนาคตภายใต้การพัฒนาคุณภาพของเด็กด้วยคุณภาพของครูและคุณภาพการบริหารเป็นการจัดการศึกษาที่สามารถพัฒนาศักยภาพของคนให้ก้าวไปสู่การพัฒนาการเมืองการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ โดยมีวัฒนธรรมไทยเป็นพื้นฐานของศักยภาพของเด็กเหล่านั้น ทั้งนี้ เพื่อประกาศให้โลกได้รับรู้ว่า เด็กไทยมีความพร้อมที่จะนำประเทศให้ก้าวล่วงเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ด้วยความมองอาจและภาคภูมิใจในความเป็นไทย


การนำภูมิปัญญาไทยไปใช้ในการจัดการศึกษา
                การพัฒนาการเรียนรู้โดยภูมิปัญญาไทย เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยอาศัยทรัพยากรของชุมชน ได้แก่ ผู้ทรงภูมิปัญญาในชุมชน แหล่งเรียนรู้ในชุมชนนั้นๆ มาใช้เป็นแหล่งถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการผลิตซ้ำทางภูมิปัญญาแก่เด็กและเยาวชนในชุมชน
             กระบวนการสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาไทยจะดำเนินการไปบนพื้นฐานของหลักการศึกษาเรียนรู้ต่อไปนี้ การวิจัยและพัฒนา การฟื้นฟูและสืบสาร การอนุรักษ์และส่งเสริม สร้างความเป็นเลิศ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยจะกระทำไปทั้งในสามรูปแบบคือ การศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย
ตัวอย่างหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำขนมนางเล็ต โรงเรียนบ้านดงน้อย อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี


              บทวิเคราะห์
                การนำภูมิปัญญาไทยมาผนวกกับการศึกษาตลอดชีวิตและนำไปสู่การพัฒนาประเทศ “การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาสังคมไทย” ปรัชญาพื้นฐานของการศึกษาตลอดชีวิตก็เพื่อความเจริญเติบโตทางร่างกายการพัฒนาบุคลิกภาพ ความเจริญงอกงามทางด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมโดยเน้นให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต การนำภูมิปัญญาไทยกับการศึกษาตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความสามารถ ฝีมือและทักษะในการพัฒนามนุษย์และนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจสังคมและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง ความสามัคคี ดังนี้
๑. การพัฒนาทางเศรษฐกิจ
การเรียนรู้หรือการศึกษากับภูมิปัญญาไทยสามารถนำความรู้และทักษะไปประกอบอาชีพได้ทั้งเป็นอาชีพหลักอาชีพเสริมหรือนำมาปรับใช้เพื่อพัฒนาอาชีพที่ทำอยู่หรือนำความรู้ที่ได้มาสร้างอาชีพใหม่ที่ตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจของสังคมไทย เช่น การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
๒. การพัฒนาทางสังคม
การบ่มเพาะและการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนทุกวัยเกี่ยวกับสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้ตระหนักถึงภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิมและอยู่ในชีวิตประจำวันอันได้แก่ วัฒนธรรมความรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี นำไปสู่การพัฒนาสังคมตามความต้องการของชุนและท้องถิ่นคงไว้ซึ่งรากฐานความเป็นวัฒนธรรมไทย
            ๓. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันระหว่างคนกับโลกสิ่งแวดล้อมสัตว์พืชและธรรมชาติ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิ่งเหนือธรรมชาติตลอดทั้งสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ทั้งหลายเมื่อประชาชนได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีคุณค่าต่อภูมิปัญญาไทยจะสร้างความรู้สึกหวงแหน นำไปสู่การอนุรักษ์ รักษาและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด
๔. การสร้างความมั่นคงและความสามัคคี
การศึกษาเรียนรู้แลกเปลี่ยนภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นรวมถึงการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้และระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาไทยในแต่ละท้องถิ่นเพื่อให้มีการเข้าถึงองค์ความรู้อย่างไร้ขอบเขตเป็นการส่งเสริมความรู้เข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมลดความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มสร้างความเข้าใจ ความสามัคคีเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม

 บทสรุป

ภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่มีลักษณะของการสะสมเรียนรู้สืบสานสืบทอดและต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบันจากบรรพบุรุษสู่ชนรุ่นหลังกันมาอย่างยาวนานและมีความสัมพันธ์กันและสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และการพัฒนาประเทศจะไม่คำนึงถึงความรู้ทักษะ วิถีชีวิตของชุมชนเป็นไม่ได้การนำภูมิปัญญาไทยสู่การศึกษาตลอดชีวิตจะส่งผลให้คนใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุขช่วยสร้างสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งช่วยให้คนดำรงตนและปรับเปลี่ยนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบที่เกิดจากสังคมภายนอกตลอดทั้งช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและประเทศชาติ

การจัดการศึกษาตลอดชีวิตในต่างประเทศ



การจัดการศึกษาตลอดชีวิตในต่างประเทศ
นางสาวทรงสุดา น้ำจันทร์
นางกรรณิการ์ เกตุบำเพ็ญ
นายกมลชัย อันทวาปี


ในปัจจุบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีจุดมุ่งหมายมากกว่า การจัดการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส
หรือให้โอกาสที่สองแก่ผู้ที่ไม่จบการศึกษาในระบบโรงเรียน หรือเพื่อการฝึกอบรมแก่ ผู้ใหญ่นอกระบบโรงเรียน การเรียนรู้ตลอดชีวิตควรเป็นเป้าหมายสำหรับทุกคน ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีศึกษาของประเทศกลุ่มอุตสาหกรรม ในปี ค.ศ.
1996 ได้ระบุว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิต ควรเป็นแนวทางของการมีส่วน ร่วมและสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ช่วยส่งเสริมระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดสมานฉันท์ในสังคม ประเทศต่างๆ ทั่วโลกพยายามพัฒนาศักยภาพของแรงงาน ด้วยการเพิ่มทักษะ ฝีมือ และสมรรถนะ เพื่อเพิ่มสัดส่วน การผลิตและผลผลิต แต่ละประเทศจำเป็นต้องหายุทธศาสตร์ สำหรับการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมกับประเทศของตนที่ต้องแข่งขันในสังคมฐานความรู้ เพราะต้องก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้มนุษย์ทุกคนต้องแสวงหาความรู้เพื่อความอยู่รอด การเรียนรู้ที่สำคัญต่อการอยู่รอด อาจไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อได้สิ่ง ใหม่ หรือการเรียนรู้ตามกระแสนิยม แต่อาจจะเป็นการเรียนรู้ที่ นำประสบการณ์เดิมมาปรับปรุง แก้ไข พัฒนาให้ถูกต้อง สถาบันการศึกษาจึงมิใช่ มุ่งแต่จะผลิตบุคคลที่มีแต่ทักษะเฉพาะด้านแต่อย่างเดียว แต่ ต้องพัฒนาให้คนรู้จักการตัดสินใจ มีทักษะในการแก้ปัญหา และสอนให้คนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ระบบการศึกษาจึงต้องเน้นที่การศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้น สังคมอุดมปัญญาที่เทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ มนุษย์ ทำให้นักการศึกษาตลอดชีวิตต้องตระหนักถึงบทบาทของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้
กรณีตัวอย่างของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต/ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศต่างๆ
     การจัดการศึกษาตลอดชีวิต/ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการศึกษานอกระบบหรือ
การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ มีความแตกต่างตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งขอนำเสนอเพียงบางประเทศ
ในบางภูมิภาค โดยจะนำเสนอเพียงประเทศที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต/ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้โดดเด่น จนหลายหลายประเทศนำไปประยุกต์ใช้ให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ประเทศในทวีปเอเชีย
สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (Republic of Korea)
          ประเทศเกาหลีใต้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนทุกคนทั้งที่มีงานทำ หรือยังว่างงาน เป็นการตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัยมีระบบการเรียนรู้ที่ยึดหยุ่นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้โดยได้ออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้จากชีวิต ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หน่วยงานของท้องถิ่นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหลายรูปแบบเช่น
Lifelong Learning City มีระบบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยืดหยุ่นและมีสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ประชาชน
ญี่ปุ่น (Japan)
          ประเทศญี่ปุ่นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุสตรีผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา โดยมีการออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง หน่วยงานของท้องถิ่นรวมถึงทุกภาคส่วนของสังคมก็มีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน กิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหลายรูปแบบเช่น Community center สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางไกล ระบบ ELNET ที่ใช้ดาวเทียมเพื่อการศึกษาถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน
ประเทศในทวีปยุโรป
สหราชอาณาจักร (United Kingdom)
         
สหราชอาณาจักร ได้กำหนดหลักการ วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาตลอดชีวิตไว้อย่างชัดเจน โดยมุ่งจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส บุคคลต้องได้รับการศึกต่อเนื่องตลอดชีวิตอย่างเสมอภาค การเรียนรู้เกิดได้ทุกแห่ง ที่บ้าน ที่ทำงาน และในชุมชน รูปแบบของการเรียนรู้มีความหลายหลาย มีคุณภาพ มีความยืดหยุ่นและมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
สหรัฐอเมริกา (United States of America)
          ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานส่งเสริมการเรียนรู้หนังสือ ให้ความรู้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงผู้สูงอายุ โดยมีการออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลางหน่วยงานของท้องถิ่น รวมทั้งชุมชนก็มีส่วนร่วม ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกัน โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบเช่น Community centers. Senior activity Centers, Lifelong learning institutes และ Development Centers สำหรับผู้ที่มีงานทำแล้วและยังว่างงานอยู่
แคนนาดา (Canada)
         
แคนนาดากำหนดนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายมุ่งให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ในทุกช่วงชีวิตตามความต้องการของแต่ละบุคคลในรูปแบบที่หลากหลายปลูกฝังนิสัยการรักการเรียนรู้ นำการเรียนรู้เข้าสู่วิถีชีวิตผสมกลมกลืนไปกับการดำเนินชีวิตเพื่อสร้าง “วัฒนธรรมการเรียนรู้” ให้แรงงานได้พัฒนาทักษะและความรู้ ความสามารถ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและวิชาการสมัยใหม่
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย
          ประเทศออสเตรเลียจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อแก้ปัญหาด้านการรู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน และตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของสังคม ให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงสตรี ผู้ว่างงานการออกกฎหมาย/ นโยบายที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลกางหน่วยงานของท้องถิ่นรวมทั้งทุกภาคส่วนของสังคมก็มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเช่นกันกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีหลายรูปแบบเช่นการจัดหลักสูตรระยะสั้นการอบรมให้กับกลุ่มเป้าหมายมีสถาบันฝึกอบรมอาชีพมีโปรแกรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตกับการทำงานในต่างประเทศ
บทสังเคราะห์: การเปรียบเทียบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในกลุ่มประเทศต่างๆ
บริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ล้วนเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้การดำเนินนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว
สหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองอีกทั้งยังอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง
ประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนนาดา เป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ และเป็นต้นแบบทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย การจัดการศึกษามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
ประเทศออสเตรเลีย มีสังคมแบบพหุวัฒนธรรมทำให้คน
ในประเทศที่ต่างเชื้อชาติ
อยู่ด้วยกันได้อย่างราบรื่น
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ซึ่งทำให้ทุกคนต้องแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
มีนโยบายพัฒนาประชาชนให้มีศักยภาพ ยกระดับทักษะแรงงานให้มีคุณภาพ
เพื่อนำพาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
- สาธารณรัฐเกาหลีใต้
มีพ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ขณะที่
- ญี่ปุ่น มีกฎหมาย
การเรียนรู้ตลอดชีวิตและกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
มีนโยบายพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของบุคลากรให้ทันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเน้นการพัฒนาอาชีพการศึกษาต่อเนื่องและการศึกษาตลอดชีวิต
ออกกฎมายกเว้นภาษีแก่บริษัทสถานประกอบการที่สนับสนุนเงินอุดหนุนในการจัดการศึกษาของผู้ใหญ่
กำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญของชาติ โดยออกกฎหมายการศึกษาตลอดชีวิตขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีกรอบทิศทาง
ในการปฏิบัติที่ชัดเจน
การจัดการศึกษายึดหลักการ
ในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสการศึกษาอย่าง
เท่าเทียมกันและถือว่าเป็นสิทธิ์ของทุกคนที่จะเข้าถึงโอกาส
ในการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการศึกษาชีวิตและกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาให้แก่แต่ละมลรัฐ
แต่ละเราสามารถกำหนดนโยบายการบริหาร
จัดการศึกษาตนเอง
โดยมุ่งเน้นแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตและการอาชีวะศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง


โครงสร้างการบริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
- สาธารณรัฐเกาหลีใต้และญี่ปุ่น มีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนตั้งแต่
ระดับระดับส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้
การจัดการศึกษาตลอดชีวิตของทั้งประเทศ
ประสบความสำเร็จ
สร้างโครงข่ายแห่งชาติ
เพื่อการศึกษา
มีการจัดระบบงบประมาณ
ให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและเพื่อช่วยสนับสนุนประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้
ในชุมชนและสร้างเครือข่าย
การเรียนรู้ เพื่อเป็นเครื่องมือ
ให้ประชาชนได้เข้าถึงโอกาสการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ กลับบ้าน โรงเรียนสถาบันทางการศึกษา
สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม และชุมชน
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของ
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาประวัติชีวิต ทั้งรัฐบาล เอกชน องค์กรท้องถิ่นสมาคมสถานประกอบการและประชาชน ส่งเสริมให้มีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายในชุมชน


หลักสูตรและกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิต
ประเทศในทวีปเอเชีย
ประเทศในทวีปยุโรป
ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
ประเทศในทวีปออสเตรเลีย
มีหลักสูตร/ กิจกรรมที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกประเภทมีสถานที่/ สื่อ/ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนแสวงหาความรู้ได้โดยสะดวกตลอดเวลาทำให้เกิดวัฒนธรรม
การเรียนรู้ในสังคม
- จัดฝึกอบรมโดย
สถานประกอบการและสถาบันฝีมืออาชีพชั้นสูง
หรือสมาคมวิชาชีพ/ สหภาพแรงงาน สถาบันอุดมศึกษา
- หลักสูตรอิงในระบบโรงเรียน
- หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
- หลักสูตรวิทยาลัยชุมชน
- หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ประเภทวิชาสามัญ
- หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ประเภทขั้นพื้นฐาน
- การศึกษาผู้ใหญ่ประเภทกิจกรรมสาธารณะ
- การศึกษาผู้ใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ
- การศึกษาผู้ใหญ่สำหรับ
ผู้พิการ
- การพัฒนาชุมชน
- หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- หลักสูตรอาชีวศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง
- หลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิต : จัดกลุ่มสนใจ




บทวิเคราะห์
          โครงสร้างและบทบาท จัดโครงสร้างองค์กรการบริหาร การเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกระดับ ตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และ ท้องถิ่น ในรูปของคณะกรรมการ โดยร่วมมือกับกระทรวงต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับหน่วยงานและส่วน ท้องถิ่นในการพัฒนาทักษะสมรรถนะของฝีมือแรงงาน เพื่อให้ ประชาชนวัยแรงงานให้มีศักยภาพ สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนกลางเน้นการจัดทำยุทธศาสตร์ กำหนดนโยบาย มาตรฐานการจัดการศึกษา/การเรียนรู้ตลอด ชีวิต วิธีการวัดผลประเมินผล และการทำวิจัยเพื่อแสวงหา นวัตกรรมใหม่ๆ ทางการศึกษา/การเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจน การจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานของหน่วยงานการ ศึกษาตลอดชีวิตในระดับท้องถิ่น หน่วยงานระดับท้องถิ่น ดำเนินงานในรูปของศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือสถาน ศึกษาการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีบทบาทสำคัญในการจัด กิจกรรมการศึกษา/การเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพ ของประชาชน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และชุมชน
          กลุ่มเป้าหมายและรูปแบบกิจกรรม หน่วยงานการ ศึกษาตลอดชีวิตจะดำเนินกิจกรรมตามความต้องการของกลุ่ม เป้าหมายมากขึ้น ตั้งแต่ก่อนปฐมวัย เสริมความรู้แก่เด็กและ เยาวชนในระบบโรงเรียน ผู้ที่จบการศึกษาในสถานศึกษามา เข้าโปรแกรมการศึกษาต่อเนื่อง แม้แต่ผู้ที่ยังไม่รู้หนังสือ หรือ การศึกษาภาคบังคับ เยาวชน และผู้ใหญ่ในวัยแรงงาน ตลอดจน ผู้สูงอายุ ฉะนั้น การบริการการศึกษาตลอดชีวิตแก่กลุ่มเป้าหมาย หลากหลาย รูปแบบกิจกรรมจึงสนองความต้องการของกลุ่ม หมายประเภทต่างๆ เช่น กิจกรรมการฝึกอบรมประเภทต่างๆ เช่นอาชีพใหม่ๆ อาชีพเสริม ความรู้ใหม่ๆ เป็นต้น กิจกรรม ส่งเสริมทักษะชีวิต สุขภาพอนามัยทางร่างกายและทางจิต กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตของคนในประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน และอนาคต
          นโยบาย ยุทธศาสตร์ และการออกกฎหมาย จากการนำเสนอตัวอย่างการจัดการศึกษาตลอดชีวิต หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศต่างๆ ข้างต้น จะพบว่า ปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สำเร็จ คือ การมี นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และพระราชบัญญัติ ซึ่งจะทำให้ หน่วยงานต่างๆ สามารถดำเนินงานได้คล่องตัว แม้บางประเทศ ไม่มีกฎหมายการศึกษาตลอดชีวิต แต่มีการออกกฎหมายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การออกกฎหมายก็เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้สามารถสนองความต้องการการเรียนรู้ ของประชาชนนั่นเอง
          กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่เจริญแล้ว ให้ความสำคัญการจัดการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตออกกฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ การศึกษาตลอดชีวิต ตลอดจนการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ โดยการดำเนินการวิจัยเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ถูกต้อง
ออกกฎหมายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเข้ามาเสริมการศึกษาในระบบโรงเรียน ทำให้การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาต่อเนื่อง เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ได้มาตรฐานถึงแม้บางประเทศไม่มีกฎหมายการศึกษาตลอดชีวิต แต่ก็มีการออกกฎหมายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น สิงคโปร์ กิจกรรมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะเป็นกิจกรรมเสริมความรู้แก่เด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียน ผู้ที่จบการศึกษาในสถานศึกษาเข้ามาโปรแกรมการศึกษาต่อเนื่อง แม้แต่ผู้ที่ยังไม่รู้หนังสือหรือการศึกษาภาคบังคับเยาวชนและผู้ใหญ่ในวัยแรงงานตลอดจนผู้สูงอายุ
          ประเทศไทยสามารถนำการศึกษาหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประเทศต่างๆ มาดำเนินต่อแบบกำหนดวิสัยทัศน์การศึกษาของไทย โดยมีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจนที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตในการขับเคลื่อนนโยบาย เน้นการกระจายอำนาจ กำหนดโครงสร้างการบริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกระดับ อันมีสถาบันส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นในการดำเนินงาน กำหนดแผนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตแห่งชาติแบบรวม เพื่อส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ จัดกิจกรรมการศึกษาตลอดชีวิตที่หลากหลาย
แก่กลุ่มเป้าหมายด้อยโอกาสทุกประเภท การสร้างระบบสนับสนุนการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เช่น การใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตโดยสนับสนุนให้องค์กรกลางเป็นผู้ประสานและเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาตลอดชีวิต ส่งเสริมสนับสนุนในการทำวิจัยเพื่อแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการศึกษาตลอดชีวิตมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการเข้าถึงประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงและหลากหลาย

บทสรุป
          ในยุคของโลกาภิวัฒน์ที่ระบบเศรษฐกิจและระบบข่าวสารข้อมูลไร้พรมแดน เข้ามามีบทบาท
ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้มีการแข่งขันในตลาดแรงงานสูง
รัฐบาลแต่ละประเทศจึงมุ่งเน้นนโยบายการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับความรู้ ทักษะอาชีพของประชาชนให้มีศักยภาพที่จะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น ประเทศต่างๆ จึงจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษา มุ่งสร้างวิสัยทัศน์ของประเทศตน เพื่อกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ โดยเชื่อว่าการศึกษาจะเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการผลิต
          กรณีของประเทศที่คัดสรรมานี้อาจแตกต่างจากบริบทของประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นการจัดการศึกษาเพื่อชดเชยโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องทุ่มเทไปกับการแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันและคนที่ไม่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ไม่ต้องพะวงกับเรื่องนี้ นอกจากนี้ จะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้วไม่เน้นค่านิยม ประกาศนียบัตรแต่สังคมไทยยังมีค่านิยมเรื่องนี้อยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงของผู้เรียนและสังคม
          ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหลายประเทศข้างต้น ต่างมุ่งขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่หันมาให้ความสำคัญด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจศึกษา ด้านอาชีวศึกษา และการศึกษาต่อเนื่องหรือการศึกษาผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น ทุกประเทศได้กำหนดนโยบายการศึกษาหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต และหลายประเทศจะออกกฎหมายส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและพระราชบัญญัติการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยกำหนดโครงสร้างการบริหารมีหน่วยงานชัดเจนที่รับผิดชอบงานการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 เอกสารอ้างอิง

รุ้ง แก้วแดง. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพและแนวทางในการส่งเสริม
          การศึกษาตลอดชีวิต สำหรับประชาชนของสำนักงาน กศน
. เพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ประชาคม
          อาเซียนของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558
. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
          และการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2557). หนังสือรวบรวมบทความทางวิชาการ เรื่องการศึกษาตลอดชีวิต.
          กรุงเทพฯ
: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ 
          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยาหยี โกวิทยา. (2555). การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ. สืบค้นจาก
          http://yayeekid.blogsport.com/2012/10/26301-1.html?m=1.